หลายเมืองในอเมริกาใต้ เริ่มขาดเเคลนน้ำ หลังทะเลสาบติติกากาแห้งเหือด

หลายเมืองในอเมริกาใต้ เริ่มขาดเเคลนน้ำ หลังทะเลสาบติติกากาแห้งเหือด

ทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกาใต้กำลังหายไป เนื่องจากคลื่นความร้อนรุนแรง สร้างความหายนะให้กับซีกโลกใต้ และฤดูหนาวที่ไม่ตรงตามฤดูกาล

เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม ที่ผ่านมา จากรายงานของสำนักข่าว Reuters ได้รายงานว่า แนวชายฝั่ง
ทะเลสาบติติกากากำลังลดลงอย่างหนัก สร้างความตื่นตระหนกให้กับคนในชุมชนว่าการใช้ชีวิต
ในแบบดั้งเดิมจะหายไป เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ที่อาศัยติดกับทะเลสาบเป็นชนพื้นเมือง

จากการบันทึกสถิติความร้อนทั่วโลก ในเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา เป็นเดือนร้อนที่สุดใน
ประวัติการณ์ เนื่องจากเกิดฝนแล้งเป็นเวลานาน ทำให้ส่งผลกระทบต่อประชากรโลกและสัตว์เป็น
อย่างมาก จนชาวนาในชุมชน Huarina ที่อยู่ติดกับทะเลสาบต่างพากันหมดหวังที่จะขอตวามช่วย
ความช่วยเหลือจากภาคส่วนต่าง ๆ

เมื่อหลายทศวรรษมาแล้ว น้ำในทะเลสาบติติกากาเคยอยู่ระดับความสูงประมาณ 3,800 เมตร หรือ 12,500 ฟุต เหนือระดับน้ำทะเล ซึ่งทำให้มีความเปราะบางมากขึ้นต่อการระเหยของรังสีจากแสง
อาทิตย์ ตามการระบุของผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยเทคนิคโอรูโรของโบลิเวีย

และสถิติต่ำสุดที่เคยบันทึกไว้ในปี 2539 อยู่ที่ 30 ซม. แต่เทียบในขณะนี้ น้ำในทะเลสาบต่ำกว่าสถิติ
ที่ได้เคยบันทึกไว้ เนื่องจากผลกระทบภัยแล้งรุณแรงในปัจจุบัน

ในขณะเดียวกัน อ่างเก็บน้ำ Canelon Grande ของสาธารณรัฐโอเรียนทัลอุรุกวัย ซึ่งเป็นแหล่งน้ำดื่มที่สำคัญของเมืองหลวงมอนเตวิเดโอ ในเดือนมิถุนายน ที่ผ่านมา น้ำในอ่างลดลง เนื่องจากระดับน้ำในทะเลสาบติติกากาลดต่ำลง จนมีหญ้าปกคลุมพื้นทะเลสาบเป็นส่วนใหญ่

ประวัติศาสตร์ภัยแล้งในอเมริกาใต้ ส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตรในอาร์เจนตินาและ
พื้นที่ใกล้เคียงเป็นอย่างมาก โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะหดตัว 2.5% ในปีนี้

ขอบคุณข้อมูลจาก

https://www.reuters.com/world/americas/lake-titicaca-drying-up-heat-wave-turns-winter-upside-down-2023-08-04/

https://www.patourlogy.com/titicaca-tiwanaku-inca/

https://www.meteorologiaenred.com/th/lago-titicaca.html

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

หวั่นวิกฤตอาหารโลก หลังอินเดียหยุดส่งออกข้าวนอกประเทศ

จับตาอินโดฯ มีเม็ดเงินสะพัด เสือเศรษฐกิจใหม่แห่งอาเซียน

อินโดไปให้สุด ไม่หยุดแค่เรื่องป่า! เพราะแค่รักษาที่มีอยู่ อาจไม่เพียงพออีกต่อไป