การบริโภคให้ยั่งยืน กินให้พอ ใช้ให้ถูก ต้องอย่างไร?

การบริโภคให้ยั่งยืน กินให้พอ ใช้ให้ถูก ต้องอย่างไร?

ทุกวันนี้เราเห็นคำว่า “ยั่งยืน” หรือ Sustainable ได้แพร่หลายมาก ซึ่งเกิดมาจากสิ่งรอบตัวเราที่ถูกเปลี่ยนแปลง เช่น การเติบโตของประชากร การอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นำไปสู่แนวคิดพัฒนาความยั่งยืนเพื่อลดผลกระทบในสังคมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี สังคมที่ดี และสิ่งแวดล้อมที่ดี จนเกิดความตระหนักและหันมาใส่ใจความยั่งยืน ทั้งภาครัฐที่มีหน้าที่ในการออกแนวนโยบาย ส่วนภาคเอกชน นำไปใช้เป็นกรอบการดำเนินงานที่มีวัตถุประสงค์เดียวกัน ภายใต้กรอบการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goal: SDG)

 

อย่างแรกเราจะพามารู้จักในแต่ละด้านของความยั่งยืน โดยเริ่มจาก ‘การบริโภคที่ยั่งยืน’
การบริโภคที่ยั่งยืนคืออะไร? สำคัญกับเราแค่ไหน? เป็นสิ่งที่อยากให้ทุกคนเริ่มสนใจ หันมาตั้งคำถามกับเรื่องนี้

จากการใช้เริ่มชีวิตประจำวัน รายล้อมไปด้วยการบริโภคทั้งนั้น ฉะนั้น เราจะมาอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ กับคำว่า“การบริโภคที่ยั่งยืน” คือ การเลือกซื้อสินค้าและบริการอะไรก็ตาม เพื่อตอบสนองต่อความต้องการและความจำเป็นในการใช้ชีวิตให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด จึงมี กรอบแนวคิดด้านการบริโภคที่ยั่งยืน 3 ประเด็นหลัก มาให้นำไปต่อยอด คือ
1. การปรับพฤติกรรมด้านการบริโภคให้พอเหมาะ
2. การส่งเสริมการผลิตให้มีประสิทธิภาพและเกิดการหมุนเวียนทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่
3. การส่งเสริมให้เกิดการตลาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

โดยกรอบแนวคิดข้างต้นเป็นความท้าทายต่อการดำเนินงานเป็นอย่างมากในเรื่องความรู้ ความเข้าใจ และแรงจูงใจ ฉะนั้นเราจึงควรรู้ถึงความสำคัญของการบริโภคที่ยั่งยืนก่อน ว่าทำแล้ว มันสำคัญและมีประโยชน์อย่างไร เบื้องต้นมีสรุปให้เห็นภาพมากขึ้นได้ 7 ข้อ คือ
1. ลดผลกระทบต่อการเกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ที่นำไปสู่การบริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ
2. จัดการเป็นระบบระเบียบ และมีการวางรากฐานสู่ความมั่นคงทางอาหาร
3. การขับเคลื่อนสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ BCG (Bio – Circular- Green Economy)
4. องค์กรเกิดการนำไปใช้สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
5. สังคม สิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิตที่ดี และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
6. การเชื่อมโยงสู่การผลิต ให้เกิดการสร้างเครือข่ายซึ่งกันและกัน
7. สามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างเหมาะสม

หากผู้คนเริ่มปรับเปลี่ยนแนวคิด จากกระแสการบริโภคแบบฟุ่มเฟือย สู่การบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือการบริโภคที่ยั่งยืน โดยมีมุมการปรับเปลี่ยนวิถีการบริโภคที่แตกต่างตามวัฒนธรรมของแต่ละภูมิภาคของโลก ให้นำหลักการเศรษฐกิจพอเพียงในการใช้ชีวิต (การบริโภคที่พอดี พอประมาณ ตามความจำเป็นพื้นฐาน) โดยคำนึงถึงความสามารถที่รองรับได้ของระบบนิเวศน์ ซึ่งก่อให้เกิดความสมดุลระหว่างความสุขในการดำเนินชีวิตในเกิดการแบ่งปันให้กับสังคมรอบข้าง และรักษาทรัพยากรให้สามารถใช้ในกิจกรรมการบริโภคสินค้าและบริการอย่างต่อเนื่องไปถึงอนาคต และองค์กรนำไปประยุกต์ใช้สู่ความยั่งยืนต่อไป

 

อ้างอิงจาก
http://www.bangkrabuecity.go.th/site/attachments/article/153/การบริโภคอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf
https://www.tpa.or.th/tpanews/upload/mag_content/62/ContentFile1162.pdf

 

ข่าวน่าสนใจ

ดร.ธรณ์ ชี้ปรากฎการณ์น้ำเขียวที่เกาะล้าน และเต่ามะเฟืองวางไข่ที่ภูเก็ตเป็นปรากฎการณ์ “โลกเดือด”

IBM Cloud Carbon Calculator AI ช่วยด้านความยั่งยืนและจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจก