จากงานวิจัยเรื่อง Obesity, a serious etiologic factor for male subfertility in modern society ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Reproduction เมื่อปี 2017 เปิดเผยว่า “ภาวะอ้วน” ส่งผลต่อการทำลายคุณภาพของสเปิร์ม และส่งผลต่อการมีบุตรยาก
โรคอ้วน (Obesity) หมายถึง ภาวะที่ร่างกายมีการสะสมไขมันในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมากเกินปกติ จนเป็นปัจจัยเสี่ยง หรือ เป็นสาเหตุให้เกิดโรคเรื้อรังที่สามารถส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพ จนอาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้ โดย องค์การอนามัยโลก (World Health Organization, 2016) ได้กำหนดเกณฑ์ค่าระดับดัชนีมวลกาย (Body Mass Index-BMI) หมายถึง ค่าดัชนีความสัมพันธ์ระหว่างส่วนสูง และน้ำหนักตัว โดยคำนวณจากน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) หารด้วยความสูง (เมตรยกกำลังสอง) เพื่อใช้เป็นเกณฑ์คัดกรองภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน โดยค่าดัชนีมวลกายที่มากกว่าหรือเท่ากับ 25 กก./เมตรยกกำลังสอง แสดงว่า เริ่มมีภาวะน้ำหนักเกิน และค่าดัชนีมวลกายที่ 30 กก./เมตรยกกำลังสอง หมายถึง ภาวะอ้วน สำหรับประชากรในเอเชียได้กำหนดจุดตัดในการแบ่งกลุ่ม ค่าดัชนีมวลกายที่ 23 กก./เมตรยกกำลังสอง หมายถึง ภาวะน้ำหนักเกิน และค่าดัชนีมวลกายที่ 25 กก./เมตรยกกำลังสองแสดงถึง ภาวะอ้วน
“ครูก้อย นัชชา ลอยชูศักดิ์” กรรมการ บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และครูวิทยาศาสตร์ผู้ก่อตั้งเพจ BabyAndMom.co.th เพจให้ความรู้เตรียมตั้งครรภ์และโภชนาการเสริมภาวะเจริญพันธุ์ตามหลักวิทยาศาสตร์สำหรับผู้มีบุตรได้ค้นคว้าและรวบรวมงานวิจัยที่ศึกษาถึงผลกระทบของโรคอ้วนต่อการมีบุตรยากในผู้ชาย ดังนี้
จากงานวิจัยเรื่อง Obesity, a serious etiologic factor for male subfertility in modern society ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Reproduction เมื่อปี 2017 เปิดเผยสาเหตุที่ “ภาวะอ้วน” ส่งผลต่การทำลายคุณภาพของสเปิร์ม และส่งผลต่อการมีบุตรยากดังนี้
1. โรคอ้วนนำไปสู่ภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ (Obesity leads to hypogonadism)
เป็นภาวะที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนเพศชายหรือ เทสโทสเตอโรน (Testosterone) ได้ไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหลักในผู้ชายที่ผลิตโดยลูกอัณฑะหลังได้รับการกระตุ้นจากต่อมใต้สมองมีหน้าที่ในการพัฒนาลักษณะทางกายภาพให้แสดงความเป็นชายคอยควบคุมการทำงาน ของระบบต่างๆในร่างกาย มีส่วนช่วยในการสร้าง และรักษามวลกล้ามเนื้อ มวลกระดูก รวมไปถึง “ระบบการสร้างสเปิร์ม” อีกทั้งยังมีบทบาทสำคัญ ในการพัฒนา บุคลิกทางเพศเมื่อขาดฮอร์โมนชนิดนี้จะส่งผลให้ร่างกายไม่มีแรง ความรู้สึก และอารมณ์ทางเพศลดลง และมีการผลิตอสุจิน้อยลง ในเพศชายซึ่งนำไปสู่ภาวะมีลูกยากได้
ฮอร์โมนเพศชายทำงานอย่างไร ?
ฮอร์โมนเพศชายมีความสำคัญต่อแทบทุกระบบในร่างกายของผู้ชาย โดยมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
• คงความแข็งแรงและรักษามวลกล้ามเนื้อ
• รักษาความหนาแน่นของมวลกระดูก
• มีส่วนช่วยในการสร้างเม็ดเลือด การสลายไขมัน และการสร้างอสุจิ
• ทำให้เกิดขนตามร่างกายและใบหน้า
• ช่วยให้เกิดความต้องการทางเพศ เพิ่มขนาดของอวัยวะเพศและอัณฑะเมื่อเกิดอารมณ์ทางเพศ
ฮอร์โมนเพศชายต่ำไม่สมดุล จะเกิดอะไรขึ้น?
ยิ่งอายุมากขึ้น ฮอร์โมนชายจะค่อยๆ ลดลงตามธรรมชาติ โดยผู้ชายอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป เทสโทสเตอโรนจะลดต่ำลงซึ่งจะส่งผลต่อระบบความต้องการ สมรรถนะและการแข็งตัวของอวัยวะ การผลิตและสร้างน้ำเชื้อ ทำให้ส่งผลต่อการมีบุตรยาก
ไม่ใช่แค่เรื่องอายุเท่านั้น ปัจจัยหลายๆ อย่าง ทั้งไลฟ์สไตล์ อาหารการกิน พักผ่อนน้อย ความเครียดและการออกกำลังกาย หนักหรือน้อยมากเกินไป ก็มีผลให้ร่างกายผลิตเทสโทสเตอโรนได้น้อยลงเช่นกัน หากฮอร์โมนชายต่ำเกินมาตรฐาน จะเรียกว่าภาวะ Hypogonadism ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อร่างกายและอารมณ์ ดังนี้
• ร่างกายอ่อนเพลีย
• อารมณ์หดหู่
• ความต้องการทางเพศหายไป
• การฟื้นฟูของร่างกายลดลง
• จำนวนอสุจิน้อยลง
• สูญเสียกล้ามเนื้อและความแข็งแรงของกระดูก
2. โรคอ้วนเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบในร่างกาย (Obesity induces inflammation)
การอักเสบเป็นกระบวนการที่สำคัญมากในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อให้กลับมาเป็นปกติ การอักเสบจะเกิดขึ้นเพื่อป้องกัน การทำลายเซลล์ หรือ การบาดเจ็บในร่างกาย ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจาก ความเครียด ความเจ็บป่วย การรับประทานอาหารที่ไม่มี ประโยชน์ การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ รวมไปถึงสภาวะทางจิตที่ไม่ปกติ ร่างกายจะตอบสนองกับภัยคุกคามนี้ โดยการปล่อย สารมาควมคุมให้ร่างกายคงสภาวะสมดุลเอาไว้เรียกว่าสภาวะ Homeostasis โดยร่างกายจะสร้างเม็ดเลือดขาว มาต่อสู้กับ สิ่งแปลกปลอม ซึ่งเมื่อร่างกายมีการอักเสบมาก สภาวะในร่างกายจะมีสารโปรตีนที่หลั่งจากเซลล์ต่างๆ ในระบบภูมิคุ้มกันที่เรียกว่า Cytokine ออกมามากซึ่งสามารถตรวจหาโปรตีนชนิดนี้เพื่อเช็คความอักเสบในร่างกายได้ กระบวนการอักเสบเป็นกลไก ในการป้องกันสิ่งแปลกปลอม แต่หากมีการอักเสบมากเกินไปก็จะเกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อได้
การอักเสบส่งผลต่อสเปิร์มอย่างไร?
การอักเสบในร่างกายจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของสเปิร์ม (Sperm maturation) เนื่องจากเมื่อร่างกายอักเสบ จะส่งผลต่อสภาวะในหลอดเก็บตัวอสุจิทำให้รบกวนการเจริญเติบโตของสเปิร์ม และลดความสามารถในการปฏิสนธิของสเปิร์มลงอีกด้วย
จากงายวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal Reproduction & infertility เมื่อปี 2015 ศึกษาพบว่า เมื่อร่างกายอักเสบ จะส่งผลให้ร่างกายผลิต ROS หรือ อนุมูลอิสระออกมามาก และอนุมูลอิสระนี้ส่งผลให้ระบบสืบพันธุ์เพศชายรวมถึงระบบ การสร้างสเปิร์มทำให้สเปิร์มด้อยคุณภาพส่งผลต่อการมีบุตรยาก
3. โรคอ้วนเสริมอนุมูลอิสระ (Obesity enhance oxidative stress)
โรคอ้วนส่งผลต่อการสร้างอนุมูลอิสระในร่างกายเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอนุมูลอิสระจะทำลาย DNA ของสเปิร์มลดอัตราการ เคลื่อนไหวและลดปฏิกิริยา acrosome reaction คือ ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเมื่อสเปิร์มเจาะเข้าผสมกับไข่ได้
4. โรคอ้วนลดคุณภาพของสเปิร์ม (Obesity impairs sperm parameters)
โดยจากงานวิจัยพบว่าโรคอ้วนจะลดความหนาแน่นของสเปิร์ม (decreased sperm concentration) ลดอัตราการเคลื่อนไหวของสเปิร์ม (decreased sperm motility) เพิ่มอัตราความผิดปกติของรูปร่างของสเปิร์ม (increased abnormal sperm morphology)
5. โรคอ้วนทำลาย DNA ของสเปิร์ม (Obesity increase sperm DNA damage)
จากการศึกษาพบว่าโรคอ้วนส่งผลให้เกิด DNA fragmentation ในสเปิร์มมีDNA แตกหัก ซึ่ง DNA ในสเปิร์มนี้คือสิ่งสำคัญ ที่ชี้วัดคุณภาพของสเปิร์ม ทั้งในเรื่อง
• อัตราการปฏิสนธิ (fertilization rate)
• คุณภาพของตัวอ่อน (embryo quality)
• อัตราการตั้งครรภ์ (pregnancy rate)
• อัตราการแท้ง (miscarriage rate)
เสี่ยงโรคเบาหวานและหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
การเป็นโรคเบาหวาน ทั้งเบาหวานประเภท 1ที่เกิดจากเซลล์ตับอ่อนถูกทำลายจากภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ขาดอินซูลิน และเบาหวานประเภทที่2 พบบ่อยที่สุด ร้อยละ 95 ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด เกิดจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน มักพบในผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วนร่วมด้วย สามารถส่งผลต่อชีวิตได้หลายแง่มุม ซึ่งหมายความรวมถึงเรื่องเซ็กส์ และสุขภาพ ทั้งนี้มีการประมาณไว้ว่า 50% ของผู้ชาย และ 25% ของผู้หญิงที่เป็นโรคเบาหวาน มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องเซ็กส์ บางประการ ปัญหาดังกล่าวสามารถเป็นได้ตั้งแต่การเบื่อเซ็กส์ และการมีความต้องการทางเพศต่ำ ไปจนถึงการติดเชื้อในช่องคลอด หรือภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถมีปัญหาทางเพศ เพราะเส้นประสาทและหลอดเลือดฝอยได้รับความเสียหาย ซึ่งมันจะทำให้เลือดไหลเวียนไปยังอวัยวะเพศน้อยลง และนั่นก็จะทำให้เกิดปัญหาได้ในที่สุด นอกจากนี้โรคเบาหวาน และการรักษา ระดับของน้ำตาลกลูโคส (Glucoregulation) ยังส่งผลกระทบต่อฮอร์โมนเพศ การเกิดภาวะดื้ออินซูลิน สามารถส่งผลต่อการผลิต ฮอร์โมนในร่างกาย ส่งผลให้คุณมีความต้องการทางเพศลดลง ทั้งนี้ผู้ชายและผู้หญิงที่ร่างกาย ควบคุมระดับของน้ำตาลได้ไม่ดี มีแนวโน้มที่จะประสบปัญหาที่เกี่ยวกับการควบคุมฮอร์โมนและสุขภาพทางเพศ
จากข้อมูลของ The Canadian Diabetes Association มีการระบุว่า 50 – 70% ของผู้ชายที่เป็นโรคเบาหวาน ประสบกับ ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ณ ช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิตผู้ชายที่เป็นโรคเบาหวานประเภท 1 มีแนวโน้มที่จะตกอยู่ในภาวะ ดังกล่าวในช่วงแรกๆ ของชีวิตมากกว่าคนทั่วไปในขณะที่ผู้ชายที่เป็นโรคเบาหวานประเภท 2 ประสบปัญหานี้ภายหลังเพียงเล็กน้อย สำหรับสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะหย่อนสมรรถภาพมีดังนี้
การไร้สมรรถภาพทางเพศทำให้เจ้าโลกของคุณผู้ชายไม่สามารถแข็งตัว หรือแข็งตัวได้ไม่นาน ในบางกรณีอาจเป็น สัญญาณเตือนแรกของผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพราะผู้ชายที่เป็นโรคนี้มีแนวโน้มที่จะประสบปัญหาไร้สมรรถภาพทางเพศ 2 – 3 เท่า
รู้อย่างนี้แล้ว หนุ่มๆที่อยากเป็นคุณพ่อต้องควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และที่สำคัญต้องดูแลเรื่องอาหารการกินเป็นพิเศษ ทานอาหารที่มีโภชนาการสูง เน้นโปรตีน เพราะโปรตีนช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ เมื่อมีกล้ามเนื้อมากขึ้น ส่งผลให้ระบบเผาผลาญทำงานได้ดีขึ้น ช่วยเบิร์นไขมันได้เร็วขึ้น เน้นผักผลไม้เสริมสารต้านอนุมูลอิสระ งดหวาน งดของมัน ของทอด เจ้าน้องอ๊อดจะได้แข็งแรง และสามารถเสริมด้วยวิตามินและทานอาหารเสริมมีส่วนผสมของสารสกัดหรือวิตามินที่ช่วยปรับปรุงคุณภาพของสเปิร์ม ได้แก่ เอล- อาร์จินีน (L-Arginine) , Hardigen (Natural Nano Zinc L- Methionine) , Sodium ascorbate,โคเอนไซม์คิว10 (CO Q10 ),ไนอะซิน (Niacinamide) หรือ วิตามินบี3 (Vitamin B3) ,วิตามินอี (Vitamin E) , ซีลีเนียม อะมิโน แอซิด คีเลต (Selenium Amino Acid Chelate), วิตามินบี 6 (Vitamin B6), วิตามินบี 12 (Vitamin B12), วิตามินบี1 (Vitamin B1),ไรโบฟลาวิน (RIBOFLAVIN) หรือ Vitamin B2 และ กรดโฟลิก (FOLIC ACID) โดยควรเลือกทานอาหารเสริมที่ได้คุณภาพมารตรฐานการผลิตและได้รับการรับรองความปลอดภัยจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ซึ่งสามารถศึกษาความรู้สำหรับผู้มีบุตรยากของฝ่ายชาย และรวมถึงโภชนาการเสริมภาวะเจริญพันธุ์ตามหลักวิทยาศาสตร์สำหรับผู้มีบุตรยากได้ที่เว็บไซต์ หรือเฟซบุ๊กเพจภายใต้ชื่อเดียวกัน BabyAndMom.co.th ครูก้อย นัชชา กล่าว.