เร่งขับเคลื่อนโลจิสติกส์สีเขียว รองรับเมกะเทรนด์การค้า-ภูมิอากาศโลกรวน

เร่งขับเคลื่อนโลจิสติกส์สีเขียว รองรับเมกะเทรนด์การค้า-ภูมิอากาศโลกรวน

 
 

เร่งขับเคลื่อนโลจิสติกส์สีเขียว รองรับอีคอมเมิร์ซไทยโตแตะ 32,000 ล้านดอลลาร์ ผ่านเมกะเทรนด์การค้า-ภูมิอากาศโลกรวน ตั้งเป้าไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตและส่งออก พร้อมสนับสนุน EV ลดคาร์บอน เสริมสิ่งแวดล้อม 

 
 

ปัจจุบันโลกกำลังเผชิญกับเมกะเทรนด์สำคัญ ทั้งการเปลี่ยนแปลงของการค้าโลก (Global Trade) อีคอมเมิร์ซ (E-commerce) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ดิจิทัลเทคโนโลยี (Digitalization) และการเปลี่ยนแปลงของแรงงาน (Evolving Workforce) 

ตลาดอีคอมเมิร์ซของไทยกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยคาดว่ามูลค่าจะเพิ่มจาก 26,500 ล้านดอลลาร์ในปี 2566 เป็น 32,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2568 เพื่อรองรับการเติบโตนี้ DHL จึงสนับสนุนธุรกิจ SME ผ่านโครงการ GoTrade และโซลูชันขนส่งที่มีคุณภาพสูง ช่วยให้ธุรกิจสามารถเข้าถึงตลาดโลกได้ง่ายขึ้น

ซึ่งภาคโลจิสติกส์จำเป็นต้องปรับตัวเพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนไป โดยให้ความสำคัญกับความยั่งยืน ทั้งในด้านการให้บริการที่มีคุณภาพ การเป็นนายจ้างที่ดี การสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน และการมุ่งสู่ระบบขนส่งสีเขียว

ซึ่งด้านพลังงานสะอาด ทั่วโลกมีความต้องการพลังงานทางเลือกเพิ่มขึ้นกว่า 27% ทำให้การเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาด เช่น รถยนต์ไฟฟ้า (EV) เป็นแนวทางสำคัญของภาคโลจิสติกส์ การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับพลังงานสะอาด ไม่เพียงช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังเป็นก้าวสำคัญในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนให้กับโลกของเรา

 

เร่งขับเคลื่อนโลจิสติกส์สีเขียว รองรับเมกะเทรนด์การค้า-ภูมิอากาศโลกรวน

 

ไทย ศูนย์กลางการผลิตและอีคอมเมิร์ซที่เติบโตอย่างมั่นคง

แนวโน้มการกระจายฐานการผลิตทั่วโลกกำลังเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้เส้นทางการค้าและซัพพลายเชนต้องปรับตัว แม้เวียดนามและอินโดนีเซียจะเป็นจุดหมายที่ได้รับความสนใจ แต่ไทยยังคงมีความได้เปรียบในภาคการผลิต โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งส่งออกเติบโตถึง 5.4% ในปี 2567 สูงสุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่ตลาดสำคัญอย่างสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น และยุโรป ยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนหลัก และสหราชอาณาจักรก็กำลังก้าวขึ้นมาเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูงสำหรับธุรกิจไทย

นอกจากนี้ ภาคอีคอมเมิร์ซของไทยกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว สมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทยคาดว่ามูลค่าตลาดจะเพิ่มจาก 26,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2566 เป็น 32,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในปี 2568 หรือเติบโตเฉลี่ยปีละ 10% DHL มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนธุรกิจ SME ซึ่งมีจำนวนกว่า 3.2 ล้านราย และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจคิดเป็น 35% ของ GDP ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ

 

เร่งขับเคลื่อนโลจิสติกส์สีเขียว รองรับเมกะเทรนด์การค้า-ภูมิอากาศโลกรวน

 

 

DHL กับกลยุทธ์ 2030

DHL เล็งเห็นโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่อุปทาน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งไทยมีศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางการผลิตของภูมิภาค และเดินหน้าสู่ความยั่งยืนด้วยการนำยานยนต์ไฟฟ้า (EV) มาใช้ในเส้นทางรับส่งระหว่างศูนย์กระจายสินค้าในกรุงเทพฯ และพื้นที่เขตเมือง โดยมีแผนขยายการใช้รถบรรทุกไฟฟ้าสำหรับการขนส่งระยะสั้นในไตรมาสที่ 2 ของปี 2568 พร้อมตั้งเป้าหมายเปลี่ยนยานพาหนะขนส่งปลายทางในกรุงเทพฯ ให้เป็น EV ถึง 50% ภายในสองปี พร้อมช่วยสนับสนุนให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ได้ถึง 30% ของปริมาณการผลิตยานยนต์ทั้งหมดภายในปี 2573

 

เร่งขับเคลื่อนโลจิสติกส์สีเขียว รองรับเมกะเทรนด์การค้า-ภูมิอากาศโลกรวน

 

ตั้งเป้า NET ZERO

DHL ตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 โดยมุ่งเน้นการใช้พลังงานสะอาดและเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หนึ่งในมาตรการสำคัญคือ 

  • การนำยานยนต์ไฟฟ้า (EV) มาใช้ในทุกหน่วยธุรกิจ เพื่อลดการปล่อยคาร์บอนจากการขนส่ง นอกจากนี้ 
  • ดำเนินโครงการ Certified GoGreen Specialist เพื่อให้พนักงานมีความรู้และทักษะด้านความยั่งยืน พร้อมผลักดันการใช้พลังงานหมุนเวียนในศูนย์กระจายสินค้า 
  • การส่งเสริมเชื้อเพลิงการบินที่ยั่งยืน (SAF) ในการขนส่งทางอากาศและทะเล 

เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจดิจิทัล พร้อมขยายโครงสร้างพื้นฐานและพัฒนานวัตกรรมโลจิสติกส์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งระดับภูมิภาค และพร้อมก้าวสู่อนาคตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

 
 
 

เนื้อหาอื่นๆ ที่น่าสนใจ  :  น่าเป็นห่วง! สัตว์ป่า 46,300 ชนิด เสี่ยงสูญพันธุ์ วันสัตว์ป่าโลก เร่งระดมทุนหยุดยั้งการสูญเสีย 

อ้างอิง : ชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel)